โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูงเหนือ
ยินดีต้อนรับ
ค้นหาบล็อกนี้
วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557
เนื่องในวันที่ 25 มีนาคม 2557 สสอ.บ้านดุง ได้จัดงานวัน อสม.แห่งชาติ
รพ.สต.โพนสูงหนือ ขอเชิญชวน อสม.ในพื้นที่ตำบลโพนสูงเหนือ เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมกันถ้วนหน้า
ณ หน้า รพร.บ้านดุง
ณ หน้า รพร.บ้านดุง
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556
อุดรบาดเจ็บแล้ว เหตุประทัดยัก
ประทัดทำคนอุดรบาดเจ็บแล้ว 16 ราย
ออนซอนอุดร.ประทัดทำคนอุดรบาดเจ ็บแล้ว 16 ราย ล่าสุดลุงบังคับหลาน 3 ขวบถือประทัดแตกใสมือ
ผู้สื่อข่าวจังหวัดอุดรธานีรายง านว่า วันนี้(17ต.ค.) น.พ.ศมภู นรานันท์ หัวหน้าแผนกกลุ่มงานศัลยกรรมกระ ดูก โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมดูอ าการของ ด.ช. ธนะชัย ไกรรัตน์ อายุ 3 ปี ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากประท ัด โดยผู้ป่วยมีบาดแผลที่นิ้วหัวแม ่มือด้านซ้าย ซึ่งกระดูกแตก บริเวณฝามือมีบาดแผล ซึ่งทางผู้ป่วยรายนี้ถูกส่งตัวต ่อมารักษาจากโรงพยาบาลหนองหาน
นางเพ็ญศรี อำนาจเจริญ อายุ 57 ปี บ้านเลขที่ 282 ม.4 บ้านยาง ต.หนองหาน อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นยาย บอกกับผู้สื่อข่าวว่า หลานชายได้รับบาดเจ็บเมื่อวันที ่ 15 ต.ค.2556 เวลาประมาณ 18.00 น. เนื่องจากนายพูนทรัพย์ ไกรรัตน์ อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นลุงเมาสุราเหล้า จากนนั้นบังคับชักชวนให้หลานเล่ นประทัด โดยให้หลานชายเป็นคนถือประทัดส่ วนนายพูนทรัพย์ฯ เป็นคนจุด จนทำให้หลานชายได้รับบาดเจ็บดัง กล่าว
น.พ.ศมภูฯ เปิดเผยว่า สำหรับตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บใน เดือนตุลาคมนี้ โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีได้รับผู ้ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นประทัด แล้ว 16 ราย ที่ได้รับบาดเจ็บจนพิการ 1 ราย คือ เด็กชายอายุ 11 ปี จาก อ.บ้านผือ ที่เล่นประทัดลูกบอล จนทำให้นิ้วมือด้านขวาขาดหมดทั้ ง 5 นิ้ว และในปีที่ผ่านมานั้น ปี 2551 จำนวน 51 ราย, 2552 จำนวน 41 ราย,2553 จำนวน 101 ราย, 2554 จำนวน 86 ราย และ ปี 2555 จำนวน 83 ราย
รายล่าสุดได้แก่ ด.ช.ณัฐกาล ปานสีดำ อายุ 6 ปี บ้านเลขที่ 180 ม.1 บ่นโพธิ์ ต.นาชุมแสง อ.ทุ่งฝน จ.อุดรธานี) เหตุเกิดเมือวันที่ 15 ต.ค.2556 เวลา ประมาณ 16.00 น.ขณะที่เล่นอยู่กับเพื่อนๆรุ่น เดียวกัน 3 คน โดนนำเอาลูกประทัดมาแกะแล้วเอาด ินปืนใส่ในขวดนม แล้วให้เพื่อนที่เป็นผู้หญิงเป็ นคนจุด ซึ่งคนจุดสามารถวิ่งหนีทัน แต่ ด.ช.นัดฯ เป็นคนถือขวดนม จึงได้บาดเจ็บที่ลูกตา คือ แก้วตาดำ เป็นรอยถลอก หนังตาถูกไฟไหม้ ซึ่งแพทย์ต้องรอดูอาการอีกระยะห นึ่ง
ออนซอนอุดร.ประทัดทำคนอุดรบาดเจ
ผู้สื่อข่าวจังหวัดอุดรธานีรายง
นางเพ็ญศรี อำนาจเจริญ อายุ 57 ปี บ้านเลขที่ 282 ม.4 บ้านยาง ต.หนองหาน อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นยาย บอกกับผู้สื่อข่าวว่า หลานชายได้รับบาดเจ็บเมื่อวันที
น.พ.ศมภูฯ เปิดเผยว่า สำหรับตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บใน
รายล่าสุดได้แก่ ด.ช.ณัฐกาล ปานสีดำ อายุ 6 ปี บ้านเลขที่ 180 ม.1 บ่นโพธิ์ ต.นาชุมแสง อ.ทุ่งฝน จ.อุดรธานี) เหตุเกิดเมือวันที่ 15 ต.ค.2556 เวลา ประมาณ 16.00 น.ขณะที่เล่นอยู่กับเพื่อนๆรุ่น
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554
บทคัดย่อวิจัย
ชื่อเรื่องการวิจัย การศึกษาความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีน
หญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่ ตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง
จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้วิจัย อิระวดี ปังอุทา
วาสนา ภูสาธง
ปีงบประมาณ 2554
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่ ตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่ ตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 2554 พื้นที่ตำบลโพนสูงอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม เรื่อง การศึกษาความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
ผลการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ พบว่า ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์มีความรู้อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 44.0 รองลงมา คือ มีความรู้อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 40.0 มีความรู้ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 10.0 มีความรู้ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ คิดเป็นร้อยละ 2.0 และมีความรู้ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ คิดเป็นร้อยละ 4.0 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย กองโภชนาการ กรมอนามัย (2533) พบว่า มารดาของเด็กมีความรู้ว่าเกลือเสริมไอโอดีนสามารถควบคุมป้องกัน โรคขาดสารไอโอดีนได้ ร้อยละ 53.9 ผลการศึกษาเจตคติเกี่ยวกับการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ พบว่า ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์มีเจตคติอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 60.0 รองลงมา คือ มีเจตคติ อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 30.0 และมีเจตคติอยู่ในระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 10 .0 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย บุญตา กิริยานันท์ (2538) พบว่า ร้อยละ 85.8 ของแม่บ้าน ระหว่างร้อยละ 88 – 92 มีเจตคติที่เอื้อต่อการควบคุมป้องกันโรคคอพอก ผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ พบว่า ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการปฏิบัติในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 70.0 รองลงมา คือ มีพฤติกรรมการปฏิบัติในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 20.0 พฤติกรรม การปฏิบัติในระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 10.0 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ฝ่ายควบคุมโรคขาดสารอาหาร กองโภชนาการ กรมอนามัย (2534 ) พบว่าประชาชนใช้เกลือปรุงอาหาร เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 93.2 ใช้เกลือเสริมไอโอดีนมีประมาณ คิดเป็นร้อยละ 60 และสอดคล้องกับงานวิจัย กองโภชนาการ กรมอนามัย (2542) พบว่า ใช้เกลือเสริมไอโอดีน คิดเป็นร้อยละ77.3
จากผลการวิจัย เรื่อง การศึกษาความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์มีความรู้อยู่ในระดับดี เจตคติอยู่ในระดับดี พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนอยู่ในระดับพอใช้ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบายและมีการวางแผน โดยเน้นการปฏิบัติ ให้หญิงตั้งครรภ์มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดี มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ เรื่องไอโอดีน ส่งเสริมให้มีการใช้เกลือไอโอดีน เครื่องปรุงรสที่มีสารไอโอดีนและแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์ไม่กินยาเม็ด เสริมไอโอดีน มีการส่งเสริมรณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์ทานยาเม็ดเสริมไอโอดีนทุกวัน จัดทำโครงการต่างๆและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มีพฤติกรรมการบริโภคไอโอดีน อย่างถูกต้อง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)