ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทคัดย่อวิจัย


ชื่อเรื่องการวิจัย                                    การศึกษาความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีน
หญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่ ตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง
จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้วิจัย                                                 อิระวดี  ปังอุทา
วาสนา  ภูสาธง
ปีงบประมาณ                                       2554
 



บทคัดย่อ
            การศึกษาวิจัยเรื่องความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่           ตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)      มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่       ตำบลโพนสูง  อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ  2554  พื้นที่ตำบลโพนสูงอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี  จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม เรื่อง การศึกษาความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ได้แก่  การแจกแจงความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย  ปรากฏดังนี้
            ผลการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ พบว่า ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์มีความรู้อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 44.0 รองลงมา คือ มีความรู้อยู่ในระดับดีมาก  คิดเป็นร้อยละ 40.0  มีความรู้ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 10.0 มีความรู้ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ  คิดเป็นร้อยละ 2.0 และมีความรู้ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ  คิดเป็นร้อยละ 4.0 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย กองโภชนาการ     กรมอนามัย (2533) พบว่า มารดาของเด็กมีความรู้ว่าเกลือเสริมไอโอดีนสามารถควบคุมป้องกัน   โรคขาดสารไอโอดีนได้ ร้อยละ 53.9 ผลการศึกษาเจตคติเกี่ยวกับการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ พบว่า ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์มีเจตคติอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 60.0  รองลงมา คือ มีเจตคติ    อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 30.0 และมีเจตคติอยู่ในระดับปรับปรุง  คิดเป็นร้อยละ 10 .0       ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย บุญตา กิริยานันท์ (2538) พบว่า ร้อยละ 85.8  ของแม่บ้าน ระหว่างร้อยละ 88 – 92 มีเจตคติที่เอื้อต่อการควบคุมป้องกันโรคคอพอก ผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ พบว่า ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการปฏิบัติในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 70.0  รองลงมา คือ มีพฤติกรรมการปฏิบัติในระดับดี  คิดเป็นร้อยละ  20.0  พฤติกรรม      การปฏิบัติในระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 10.0  ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ฝ่ายควบคุมโรคขาดสารอาหาร กองโภชนาการ กรมอนามัย (2534 ) พบว่าประชาชนใช้เกลือปรุงอาหาร       เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 93.2  ใช้เกลือเสริมไอโอดีนมีประมาณ คิดเป็นร้อยละ 60 และสอดคล้องกับงานวิจัย กองโภชนาการ กรมอนามัย (2542) พบว่า ใช้เกลือเสริมไอโอดีน  คิดเป็นร้อยละ77.3
            จากผลการวิจัย เรื่อง การศึกษาความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนหญิงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์มีความรู้อยู่ในระดับดี เจตคติอยู่ในระดับดี พฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนอยู่ในระดับพอใช้  ดังนั้น  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบายและมีการวางแผน โดยเน้นการปฏิบัติ       ให้หญิงตั้งครรภ์มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดี  มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ เรื่องไอโอดีน ส่งเสริมให้มีการใช้เกลือไอโอดีน เครื่องปรุงรสที่มีสารไอโอดีนและแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์ไม่กินยาเม็ด           เสริมไอโอดีน มีการส่งเสริมรณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์ทานยาเม็ดเสริมไอโอดีนทุกวัน จัดทำโครงการต่างๆและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มีพฤติกรรมการบริโภคไอโอดีน         อย่างถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น